Rama IX Art Museum
เฟื้อ หริพิทักษ์ | ชีวิตและผลงานคัดลอกจิตรกรรมไทยประเพณี
ชีวิตและผลงานคัดลอกจิตรกรรมไทยประเพณี

แรงบันดาลใจจากอินเดีย เดิมที อาจารย์เฟื้อ ตั้งใจจะเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอิตาลี แต่เกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๒ เสียก่อน ในปีพ.ศ. ๒๔๘๔ ประกอบกับเมื่อครั้งศึกษากับศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ของประเทศอินเดีย ทำให้เกิดความใฝ่ฝันว่าจะต้องเดินทางไปประเทศอินเดียให้ได้ ท่านจึงเลือกเดินทางไปศึกษาต่อ ที่ประเทศอินเดียแทน ด้วยทุนของ ม.ร.ว.ถนอมศักดิ์ กฤดากร ณ มหาวิทยาลัยวิศวภารติ ศานตินิเกตัน ณ ที่นั้นเอง ที่อาจารย์เฟื้อได้แนวทางการศึกษาอนุรักษ์และคัดลอกภาพจิตรกรรมประเพณีโบราณ และเมื่อกลับมาเมืองไทย ท่านได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนศิลปะรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร

During 1940-1946, he received a scholarship from Thanomsakdi Kridakorn to study at Visva Bharati University in West Bengal, India.

ศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ อาจารย์เฟื้อ ได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ราชบัณฑิตยสถานที่กรุงโรม โดยทุนของรัฐบาลอิตาลี เป็นเวลาสองปี ด้วยเหตุที่ท่านมีนิสัยรักในอิสรภาพ ไม่ชอบอยู่ในกรอบของสถานศึกษา ท่านจึงไม่มีประกาศนียบัตรทางศิลปะใดๆ ติดตัวไปเลย มีเพียงจดหมายรับรองของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ที่ได้ย่องย่องชมเชยอาจารย์เฟื้อไว้ว่า “เป็นหนึ่งในศิลปินสยามที่ดีที่สุดในขณะนั้น”

During 1954-1956, he was granted a scholarship by the Italian government to study at the L'accademia Di Belle Arti (The Academy of Fine Art) in Rome.

ผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ช่วงเวลาที่ไปศึกษาต่อยังประเทศอิตาลีนั้น เป็นช่วงเวลาที่ท่านได้ทดลองเทคนิคจิตรกรรมใหม่ๆ อันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสีชอล์ค ดินสอสี หมึก เกรียงปาดสี ท่านยังได้ทดลองสร้างผลงานแนวนามธรรมและคิวบิสซึ่ม ผลงานของท่านในช่วงนี้ มีความแปลกใหม่สำหรับจิตรกรไทยในขณะนั้น หลังจากกลับจากอิตาลี ผลงานภาพวาดของท่าน ได้รับรางวัลเหรียญทองงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นครั้งที่ ๓ หลังจากเคยได้รับรางวัลเดียวกันมาก่อน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ – ๒๔๙๓ จึงได้รับยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทจิตรกรรม ภายหลังท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย

During this period, he experimented with a variety of painting techniques, including chalk, colored pencils, ink, and the palette knife. He also dabbled with abstract and cubist styles. His subjects were mostly Italian landscapes, but also included some nudes. He was later recognized as a pioneer in Thailand's modern art.

อาจารย์เฟื้อ กับงานคัดลอกจิตรกรรมฝาผนัง ความสนใจในศิลปะไทยของอาจารย์เฟื้อ เริ่มตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อท่านได้เดินทางไปเขียนภาพที่ จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน ในครั้งนั้น นอกจากงานสร้างสรรค์ศิลปกรรมแล้ว ท่านยังได้รับมอบหมายจาก ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ให้ทำการสเก็ตภาพศิลปวัตถุ เพื่อนำมาใช้สอนนักศึกษาด้วย กล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ท่านได้ทำการศึกษาศิลปะของไทยอย่างเป็นระบบ ต่อมาเมื่อท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอินเดีย ที่นั่น ได้มีการปฏิรูปศิลปะโดยที่โน้มน้าวจิตใจชาวอินเดีย มิให้ละทิ้งลักษณะประจำชาติ และใช้วิธีการส่งคนที่มีความรู้ความสามารถไปคัดลอกภาพเขียนที่มีคุณค่าตามแหล่งต่างๆ ของประเทศมาติดตั้งไว้ให้ศึกษากันอย่างใกล้ชิด ทำให้ท่านคิดได้ว่า นักศึกษาศิลปะของประเทศไทยศึกษาศิลปะของชาติต่างๆ มากมาย แต่ไม่เคยรู้จักของดีในประเทศตนเลย ควรที่จะได้ทำการศึกษาค้นคว้าศิลปะไทยอย่างจริงจัง เพื่อที่จะหาแนวทางสำหรับสร้างสรรค์งานจิตรกรรมขึ้นมาใหม่

ผลงานด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมไทยที่สำคัญของอาจารย์เฟื้อ ได้แก่ การบูรณะปฏิสังขรณ์หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม ผลงานการคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังจากโบราณสถานหลายๆ แห่งของอาจารย์เฟื้อส่วนหนึ่ง ซึ่ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เก็บรักษาไว้ ได้นำมาจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงในคุณงามความดีของท่านในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

Fua Haripitak was undoubtedly one of Thailand's foremost specialists in the conservation of murals. Since his return from India he had devoted his life studying and restoring old works of art. The most important project was the restoration of Wat Rakang Kositaram's Traipitaka Library. The National Gallery Bangkok would like to present these copy paintings of the Thai traditional mural painting by Fua Haripitak for remembrance of his contribution to the preservation of Thai Culture.

Fua Haripitak Artist