รางวัลช้างเผือก | The White Elephant Prize
ศิลปิน : อนันต์ยศ จันทร์นวล
ชื่อผลงาน : พลังแห่งดอกทานตะวัน
เทคนิค : สีน้ำมันและสีอะคริลิคบนผ้าใบลินิน
ขนาด : 195 x 195 ซม.
ดอกทานตะวันและผ้าสีแดง แสดงถึงความรัก ความหวัง ความสดใสร่าเริง ความมีชีวิตชีวา ความสง่างาม ความแข็งแกร่ง ยืนหยัดอย่างทระนงและทรงพลัง ผลงานชิ้นนี้ต้องการส่งเป็นกำลังใจให้กับคนไทยทุก ๆ คน ได้ข้ามผ่านช่วงเวลาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันไปด้วยกัน ด้วย “พลังแห่งดอกทานตะวัน”
รางวัลชนะเลิศ | Grand Prize
ศิลปิน : มนัชญา กิจประเสริฐ
ชื่อผลงาน : ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้และลงสีด้วยมือ
ขนาด : 115 x 172 ซม.
“ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ” เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีจิตใจดีงามของคนไทยที่คอยเอาใจใส่ ดูแลแขกอย่างเหมาะสม การเอื้อเฟื้อและยินดีที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อมีคนต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะด้านอาหารการกินหรือการพักพิง บางส่วนที่พอจะช่วยเหลือกันได้ คนไทยมักจะมีจิตใจดี พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเสมอ
รางวัลพิเศษ | CEO Award
ศิลปิน : เญอรินดา แก้วสุวรรณ
ชื่อผลงาน : โฮม (บุญบ้านเฮา)
เทคนิค : เย็บปักถักร้อย
ขนาด : 152 x 152 ซม.
ปัจจุบัน สังคมอยู่ในช่วงวิกฤต ด้วยในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เราต้องเว้นระยะห่างทางสังคม จึงทำให้นึกถึงบรรยากาศงานบุญประจำปีของจังหวัดเล็ก ๆ ในบ้านเกิดข้าพเจ้า ที่ผู้คนร่วมใจ พร้อมหน้าพร้อมตามาทำบุญ ด้วยการให้ใจ ให้ความรัก ให้ความสมัครสมานสามัคคี ตลบอบอวลด้วยความอบอุ่น ด้วยบรรยากาศความสุขแบบเรียบง่ายที่เกิดจากความรักความศรัทธา จนเกิดเป็นหนึ่งใจเดียวกัน ข้าพเจ้านำเสนอผ่านเทคนิคเย็บปักถักร้อย เสมือนสายใยสายสัมพันธ์ที่ต่างคนมีให้กัน ผสมผสานประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกวิกฤตจะผ่านพ้นไปด้วยความรัก ความสามัคคี และกำลังใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ต่างคนต่างมีให้กัน
รางวัลรองชนะเลิศ | Excellent Prize
ศิลปิน : เจษฎา กิรติเสวี
ชื่อผลงาน : ทางม้าลาย
เทคนิค : ไฟนีออนเฟล็กซ์บนแผ่นอะคริลิค
ขนาด : 200 x 200 ซม.
ในกรุงเทพมหานครฯ ที่มีความเจริญทางด้านวัตถุ เรายังพบเห็นความเจริญทางด้านจิตใจอยู่บ้าง แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เราจะเห็นคนขับรถหยิบยื่นน้ำใจเล็ก ๆ ด้วยการหยุดรถให้กับคนข้ามถนน ข้าพเจ้าต้องการเชิญชวนให้ทุกคนขับรถให้ถูกกฎจราจรและมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมทาง
รางวัลรองชนะเลิศ | Excellent Prize
ศิลปิน : ไชยันต์ นิลบล
ชื่อผลงาน : อยู่เป็น
เทคนิค : ประกอบแผ่นตะกั่วและฝอยขัดหม้อ
ขนาด : 100 x 200 x 200 ซม.
พื้นฐานของทุกสังคม ล้วนมีความสัมพันธ์ที่ต่างพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งการให้ ความมีน้ำใจ มีมิตรไมตรีต่อกัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลและแบ่งปันกัน ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ จึงต้องการสะท้อนภาพสังคมผ่านระบบนิเวศน์ของสัตว์ที่กำลังปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมอย่างกลมกลืน
รางวัลรองชนะเลิศ | Excellent Prize
ศิลปิน : เทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง
ชื่อผลงาน : ศรัทธาแห่งการให้
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้
ขนาด : 127 x 200 ซม.
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเชื่อความศรัทธาและเคารพนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ฝังรากลึก และกระจายอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนมาหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะในสังคมชนบทที่มีศรัทธา ความเชื่อ และมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตอย่างมาก ความเชื่อความศรัทธาเหล่านี้ก่อให้เกิดประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวัฏจักรของธรรมชาติที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดังความเชื่อความศรัทธาของประเพณีการบวชป่า โดยแสดงให้เห็นถึงการอนุรักษ์ การทำให้ป่ากลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัยบทพุทธมนต์มาประยุกต์เข้ากับความเชื่อ ทำให้ผู้คนเกิดจิตสำนึก และเกิดความนึกคิดที่ต้องการปกป้องรักษา ให้ทรัพยากรและระบบนิเวศของสรรพชีวิตน้อยใหญ่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสืบไป
รางวัลรองชนะเลิศ | Excellent Prize
ศิลปิน : เพชราพร โสภาพ
ชื่อผลงาน : มุมแห่งความสุข
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้
ขนาด : 138 x 200 ซม.
ข้าพเจ้าเชื่อว่าการให้คืออานุภาพหนึ่งของความสุข และข้าพเจ้าพึงคิดอยู่เสมอว่าการให้โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นการให้อิสรภาพอย่างแท้จริง การให้ถึงแม้จะปราศจากคำพูดใด ๆ แต่พลังของการให้ก็สามารถสื่อสารและเชื่อมโยงทุกชีวิตถึงกันและกันได้ ซึ่งเป็นเครือข่ายหนึ่งของชีวิต
ข้าพเจ้าจึงถ่ายทอดมุมมองที่เต็มไปด้วยความงามของสิ่งมีชีวิต และการอยู่ร่วมกันบนความสุขสมดุลของธรรมชาติ เพื่อให้สิ่งนี้เป็นจุดเชื่อมที่ช่วยชโลมจิตใจ รู้สึกถึงความสุขสงบ และลืมเรื่องราวสถานการณ์ต่าง ๆ ของสังคมชั่วขณะหนึ่ง
รางวัลรองชนะเลิศ | Excellent Prize
ศิลปิน : วีระยุทธ ใจว่อง
ชื่อผลงาน : คนไทยให้กันได้ในวิถีของชาวประมง
เทคนิค : สีอะคริลิคบนผ้าใบ
ขนาด : 154 x 185 ซม.
บรรยากาศในชุมชนของชาวประมงยามเช้าเป็นภาพที่ข้าพเจ้ามีความคุ้นชิน และเห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนอาชีพประมง เป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญ เป็นบ่อเกิดของเอกลักษณ์เฉพาะพื้นถิ่นที่มีความน่าสนใจประกอบไปด้วยภูมิปัญญาของชาวทะเลไทย มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พอเพียง และสงบสุข แฝงไปด้วยร่องรอยของการดำเนินชีวิตแบบชาวทะเลไทยที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
ศิลปิน : คเณศ แสนศรีลา
ชื่อผลงาน : สังคมไทยให้กัน
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้
ขนาด : 132 x 183 ซม.
ศิลปิน : จักรชัย เพ็ชรปานกัน
ชื่อผลงาน : กลับบ้าน
เทคนิค : ลายรดน้ำ และสีอะคริลิคบนไม้
ขนาด : 138 x 156 ซม.
ศิลปิน : เจนจิรา คชวัตร
ชื่อผลงาน : จุดยืน – ความหวัง
เทคนิค : สติ๊กเกอร์บนผ้าใบ
ขนาด : 140 x 200 ซม.
ศิลปิน : ชยสิทธิ์ ออไอศูรย์
ชื่อผลงาน : Light: Life
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้
ขนาด : 145 x 105 ซม.
ศิลปิน : ธีรวุฒิ คำอ่อน
ชื่อผลงาน : ฮอมบุญจุลกฐิน . . .ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แต่น้ำจิตน้ำใจมิเคยแห้งหายไป
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้
ขนาด : 152 x 187 ซม.
ศิลปิน : นิลยา บรรดาศักดิ์
ชื่อผลงาน : มั่ง มี ศรี สุข
เทคนิค : เย็บ ปัก ถักร้อย
ขนาด : 180 x 200 ซม.
ศิลปิน : พฤตินันทร์ ดำนิ่ม
ชื่อผลงาน : ห้วงเวลาแห่งความหวัง
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้ ปะติดวัสดุ ย้อมผ้า และเย็บปักด้วยมือ
ขนาด : 150 x 200 ซม.
ศิลปิน : พิพัฒน์ จันทร์ทิพย์
ชื่อผลงาน : เรียงร้อยเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวx
เทคนิค : ปะติดวัสดุบนไม้อัด
ขนาด : 150 x 200 ซม.
ศิลปิน : ภานุชิต ศรีวิชัย
ชื่อผลงาน : ช่วยเหลือในจินตนาการ หมายเลข 4
เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้
ขนาด : 173 x 127ซม.
ศิลปิน : วชิระ ก้อนทอง
ชื่อผลงาน : ปันรักให้สัตว์ป่า
เทคนิค : สีอะคริลิคและปะติดวัสดุบนผ้าใบ
ขนาด : 200 x 200 ซม.
ศิลปิน : อนุกูล ทังไธสง
ชื่อผลงาน : ไทยช่วยไทย
เทคนิค : เย็บยางบนผ้าใบยาง
ขนาด : 100 x 190 ซม.
ศิลปิน : อภิสันต์ รอจั่น
ชื่อผลงาน : คืนให้ลูกหลาน (เริ่มจากตัวเรา)
เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด : 188 x 127 ซม.