การอยู่ร่วมกันของโลกาภิวัฒน์ กับ เอกลักษณ์เฉพาะตน และวัฒนธรรมเฉพาะที่เป็นไปได้หรือไม่ในยุคนี้
ชายขอบ, ความเป็นส่วนตัว, ความเป็นเฉพาะที่, ชนกลุ่มน้อย, รากหญ้า, ของเก่าๆและความเรียบง่าย จะสามารถมีที่ทางได้หรือไม่อย่างไรในโลกาภิวัตน์
ราวกับถูกฉุดรั้งจากอดีต ขณะเดียวกันก็ถูกดูดจากอนาคตให้พุ่งไปข้างหน้า
ศิลปะเพื่อการสื่อสาร เพื่อทำความเข้าใจอดีต เข้าใจตนเองและอาจจะทำให้มองโลกได้ชัดเจนมากขึ้น
Elephants
”Elephants” work series, can be traced back to 1994. I had visited many ancient sites and sanctuaries in Sukhothai province, north of Thailand. I found debris of stuccoed elephants of which someone had tried to rearrange the trunk and the head presumably in a correct position as if to give them a new life. It reminded me of chicken, duck and pork served in restaurants of which although being cut into disparate parts, they were arranged to assume the living position when being served.
Elephants have long been part of Thai culture, as evident in many legends and Buddha stories. White elephants had been regarded as propitious animal and appeared in Siamese flag. But elephants in Thailand are now threatened to become extinct. They are being endangered regardless of their grand dimensions and strength.
From 1995, I have worked in many medias, dealing with elephants. Most of the works are ambiguous and fragmented. They have never been perfect. Perhaps, because I am presenting something which are blurring and varnishing.
ช้างเผือกสยาม
๒๕๓๘–๒๕๔๕ (1995-2001)
ผลงานชุด “ช้าง” เริ่มต้นใน ปี ๒๕๓๗ จากการไปทัศนศึกษาโบราณสถานหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ที่ให้แรงบันดาลใจแก่ผม นั่นคือที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ผมพบกับเศษซากของปูนปั้นรูปหัวช้าง คนนำเอาชิ้นส่วนของมันมาต่อให้เป็นรูปเดิมอย่างที่มันควรจะเป็นเมื่อครั้งยังสมบูรณ์อยู่ มันทำให้ผมนึกไปถึงหมู เป็ดและไก่ที่ภัตตาคารนำมาทำเป็นอาหารแล้วสับมันเป็นชิ้นๆ แต่ก็พยายามเรียงมันให้อยู่ในตำแหน่งปกติของสัตว์เหล่านั้น คล้ายๆ กับเมื่อตอนที่พวกมันยังมีชีวิตอยู่
ช้าง มีบทบาทสำคัญในศิลปะและวัฒนธรรมไทยมาโดยตลอดดังที่เราพบเห็นอยู่อย่างดาษดื่นในพุทธประวัติ ศิลปะและประเพณีแขนงต่างๆ ของไทย และที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในความเชื่อแบบไทยๆ ก็คือ ช้างเผือก ซึ่งครั้งหนึ่งถึงกับเคยปรากฏอยู่กึ่งกลางธงชาติสยามเลยทีเดียว แต่ความจริงที่ย้อนแย้งและเจ็บปวดในทุกวันนี้ก็คือ การที่ช้างไทยใกล้จะสูญพันธุ์
นับตั้งแต่ ปี ๒๕๓๘ เป็นต้นมา ผมได้ทำงานศิลปะในหลากหลายสื่อและเทคนิค โดยมีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับช้าง ผลงานโดยมากมักจะคลุมเครือและแตกแยกเป็นชิ้นส่วนไม่เคยสมบูรณ์อย่างหมดจด บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าผมกำลังนำเสนอสิ่งที่กำลังพร่าเลือนและกำลังจางหายไป