Longing for Siam, Inventing Thailand
Longing for Siam, Inventing Thailand, is a solo exhibition featuring Sutee’s latest body of works. With these new works, the artist invites viewers to look back at “Thai Mai” (New Thailand) from the 1930s to 1940s, a period when national unity was being built, the government using art to construct the nation. The show aims to offer a flashback to a time when the Kingdom of Siam’s early borders were being drawn. And during those years when the Kingdom’s physical outline was evolving, the “hats and shoes” were striving to make Thailand a powerful nation and extremely patriotic state.
Longing for Siam, Inventing Thailand is an installation comprising 600 small plaster soldiers, stop-motion video projections, and a video performance of the artist drawing on a huge black wall. The installation is presented in a setting designed to evoke the historical period preoccupied with the leadership’s slogan “Mala Nam Thai Soo Maha Umnaj” [The hats that lead Thailand to become a great nation.]. Viewers will be encouraged to participate in national map-making in an atmosphere that, thanks to old patriotic songs and tunes, recalls those long-ago times.
ศิลปะร่วมสมัยที่ชวนให้โหยหาอดีต
ในยุคที่สรีระของประเทศกำลังยืดหด
และไทยกำลังจะเป็นชาติมหาอำนาจ
โหยสยาม
สยามประเทศในยุคโบราณ เป็นยุคที่เราคนไทย (และหรือตัวข้าพเจ้า สุธี) มองด้วยสายตาแบบโหยหาอดีต เป็นทั้งยุคสยาม-ไทยแบบดั้งเดิมที่เรามักนึกถึงว่าเป็น “ไทย” แบบแท้ๆ งดงามรุ่งเรืองและเป็นยุคที่สยามเริ่มปรับตัวให้ทันสมัยแบบฝรั่ง เป็นสยามใหม่ที่มีกลิ่นไอฝรั่ง แต่ก็ยังคงความสง่างามคลาสสิกแบบราชสำนัก
กล่าวโดยสรุป โหยสยาม คือ การโหยหาสยาม-ไทยแท้ ไทยแท้ที่อ่อนช้อยแสดงออกถึงความเป็นไทยแบบ “สยามคลาสสิก” ซึ่งหมายรวมไปถึงยุคของกรุงศรีอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ที่สยามมีอาณาเขตยิ่งใหญ่กว้างขวาง (ตามที่คุณครูได้พร่ำสอนเรามาในโรงเรียน)
ไทยประดิษฐ์
การประดิษฐ์สร้างไทยใหม่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นการสร้างทั้งรัฐชาติไทยใหม่ที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ราษฎรมีความเสมอภาคและมีสิทธิมีเสียงทางการเมือง และทั้งยังเป็นการก่อร่างสร้างไทยใหม่ที่มีศิลปวัฒนธรรมที่ทันสมัยเป็นสากล
การประดิษฐ์ชาติไทยขึ้นใหม่นี้ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศไทย การพยายามสร้างความเป็นไทยให้เป็นรูปธรรมแบบหนึ่งเดียว ทั้งทางวัฒนธรรม เช่น เครื่องแต่งกาย เชื้อชาติ และทั้งความเป็นไทยทางเส้นอาณาเขตประเทศ
ยุคที่เกิดการโหมสร้างไทยใหม่อย่างเข้มข้นและมีสีสันมากที่สุดคือ ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 มาจนถึงพุทธทศวรรษ 2490 ซึ่งครอบคลุมยุคคณะราษฎรและหรือยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม
กล่าวโดยสรุป ไทยประดิษฐ์ คือประเทศไทยยุคสร้างชาติไทยใหม่ที่เต็มไปด้วยการประดิษฐ์สร้างอัตลักษณ์ใหม่ๆ ซึ่งมักจะถูกโจมตีว่าไม่เป็นไทยและไร้รสนิยม ไทยประดิษฐ์คือความสมัยใหม่-ทันสมัย เข้มแข็งเป็นระเบียบ เสมอภาคเท่าเทียม ถูกประดิษฐ์สร้างขึ้นใหม่ มีความบริสุทธิ์เป็นอุดมคติราวกับเป็นยูโธเปีย
ใน โหยสยาม ไทยประดิษฐ์ นิทรรศการเดี่ยวล่าสุด ข้าพเจ้าขอเชิญชวนให้คนดูได้มาแอบดู “ไทยใหม่” ในอดีต ยุคที่ทหารและศิลปะกำลังช่วยสร้างชาติ เป็นสมัยที่พรมแดนของประเทศกำลังถูกขีดเขียน รูปทรงเอวองค์ของประเทศกำลังผันแปรยืดหดและลื่นไหลได้ไม่คงที่ เป็นยุคที่หมวกและรองเท้าจะนำไทยไปสู่มหาอำนาจและเลือดรักชาติกำลังฉีดซ่าน และที่สำคัญคนดูจะได้มีส่วนร่วมในการขีดเขียนแผนที่สร้างชาติ และการเขียนภาพสดบนผนังดำโดยศิลปิน