Rama IX Art Museum
Rama IX Art Museum
ประวัติศิลปินศิลปิน สุธี คุณาวิชยานนท์ Biography Artist Sutee Kunavichayanont
เปลี่ยนภาษา | English Language | ภาษาอังกฤษ


สุธี คุณาวิชยานนท์
จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ.3) รุ่นสุดท้าย แล้วเข้าศึกษาศิลปะในระดับ ปวช.ที่วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร 1 ปีก่อนฉลอง 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ สอบ “เอ็นฯติด” เข้าเรียนในคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นนักศึกษารุ่นที่ 2 เมื่อปี 2527 แล้วในปีรุ่งขึ้นเข้ามาเรียนที่ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยได้รับปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ ในปีการศึกษา 2532 ต่อมาได้เข้าศึกษาใน ซิดนีย์ คอลเลจ ออฟ ดิ อาร์ตส์ (Sydney College of the Arts) มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้รับปริญญามหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ เมื่อปี 2536

สุธีเข้ารับราชการสอนในภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปี 2537 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น รองศาสตราจารย์ และหัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์ นอกเหนือจากอาชีพข้าราชการอาจารย์แล้ว สุธียังเคยเขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อาทิ คอลัมน์ ”แกลเลอเรีย” ในหนังสือกรุงเทพวันอาทิตย์ ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เดือนละสองครั้ง และคอลัมน์ “ศิลปวัฒนธรรม” แบบเดือนละครั้งใน สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ หนังสือเล่มแรกของเขาคือ จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่ : ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะ จากประเพณีสู่สมัยใหม่และร่วมสมัย ตีพิมพ์เมื่อปี 2546 และต่อมาในปี 2554 สุธีได้ตีพิมพ์งานเขียนอีก 2 เล่มคือ ทัศนศิลป์ และ 10 คำถามที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับศิลปะ และในปี 2548 สุธีได้ร่วมกับ ปัญญา วิจินธนสารและลักขณา คุณาวิชยานนท์ รับหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์จัดนิทรรศการ คนตายอยากอยู่ คนอยู่อยากตาย ในศาลาไทยในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่

นอกจากนี้ สุธียังมีบทบาทเป็นผู้ทำงานศิลปะอีกด้วย สุธีมีทั้งนิทรรศการศิลปะแบบกลุ่มและเดี่ยวหลายครั้ง อาทิเช่น ฝนตกขี้หมูไหล (ปี 2541), ภาระอันรื่นรมย์ (ปี 2542), สูตรสำเร็จประเทศไทย (ปี 2548), โหยสยาม ไทยประดิษฐ์ (ปี 2553), ดีเป็นบ้า และ โลกที่ไร้การเมือง (ปี 2555)

ในปี 2545 สุธีได้รับรางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี จากหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร และในปี 2549 ได้รับรางวัลแดง มนัส เศียรสิงห์ จากสถาบันปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้ผลงานของสุธียังได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงในมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติหลายครั้ง เช่น Trace, Liverpool Biennial of Contemporary Arts, Liverpool, UK. (ปี 2542) Imagined Workshop, the 2nd Fukuoka Asian Art Triennale 2002, Fukuoka Asian Art Museum, Japan. (ปี 2545) The 5th Asia-Pacific Triennial of Contemporary Art, Queensland Art Gallery/Gallery of Modern Art, Brisbane, Queensland. (ปี 2549)

แนวผลงานที่มีชื่อเสียงมากของสุธีคือ ผลงานสามมิติที่สร้างกิจกรรมให้คนดูสามารถมีส่วนร่วมกับผลงาน เช่น ประติมากรรมยางรูปคน ช้าง ควายและเสือ ในผลงานชุดนี้คนดูต้องบริจาคลมหายใจโดยการเป่าลมเข้าไปในผลงานเพื่อให้ประติมากรรมเหล่านั้นฟื้นกลับมา (ราวกับว่า) มีชีวิตอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีผลงานชุด ห้องเรียนประวัติศาสตร์ (ถนนราชดำเนิน) ผลงานชิ้นนี้คนดูสามารถพิมพ์หนังสือประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของไทยได้ด้วยตนเอง โดยการฝนถูภาพสลักหน้าโต๊ะนักเรียนลงบนกระดาษ

พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติหลายแห่งได้เก็บสะสมผลงานของสุธีไว้ในคลัง อาทิ Fukuoka Asian Art Museum และ Mori Art Museum ในญี่ปุ่น Singapore Art Museum ในสิงคโปร์ H&F Collection ในเนเธอร์แลนด์ Queensland Art Gallery ในออสเตรเลีย FEFW Collection, Museum of Contemporary Photography ในสหรัฐอเมริกา ARTER Foundation ในตุรกี

เกิด ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๘
การศึกษา - ประกาศนียบัตรวิชาชีพศิลปะ วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร
- ศิลปบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ศิลปมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ วิทยาลัยศิลปะแห่งซิดนีย์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
งานราชการ
27 ตุลาคม 2537 อาจารย์
16 พฤศจิกายน 2544 ผู้ช่วยศาสตราจารย์
27 พฤษภาคม 2553 รองศาสตราจารย์
2554 หัวหน้าภาควิชาทฤษฎีศิลป์
ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การแสดงงานเดี่ยว
๒๕๓๔ - ฟรอม เอาท์ไซด์ ลุคกิ้ง อิน (มองจากภายนอกสู่ภายใน) พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนิวอิงแลนด์ อาร์มิเดล ออสเตรเลีย
๒๕๓๖ - วอยด์ แอนด์ เอมตี้เนส (ความว่างและความว่างเปล่า) เฟิร์สท ดราฟท์ (เวสท์) รัฐนิวเซาท์เวลล์ ออสเตรเลีย
- ไทม์ แอนด์ มายด์ (เวลาและจิต) แกลเลอรี่ทินเชด รัฐนิวเซาท์เวลล์ ออสเตรเลีย
- โฟลอิ้ง ไทด์ (สายน้ำไหล) แกลเลอรี่อัลเลนสตรีท รัฐนิวเซาท์เวลล์ ออสเตรเลีย
๒๕๓๗ - สายน้ำไหล สีลมศิลปาวกาศ กรุงเทพฯ
๒๕๓๘ - ช้างเผือกสยาม หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๔๐ - ตำนานพยัคฆ์ร้ายเอเชีย แกเลอเรีย โกช โรงเรียนวิจิตรศิลป์แห่งชาติ ปารีส ฝรั่งเศส
๒๕๔๑ - ฝนตก ขี้หมูไหล หอศิลป์ตาดู กรุงเทพฯ
๒๕๔๒ - ภาระอันรื่นรมย์ หอศิลป์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพฯ
๒๕๔๓ - ๔ วัน กับการต่อลมหายใจและห้องเรียนประวัติศาสตร์ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
๒๕๔๔ - ไซแอมมิส ทวินส์, ไทยอาร์ต ฟาวน์เดชั่น, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์
- เอเลเฟนท์, ออพติก้า, มอนทรีออล, คานาดา
- เบบี้ เอเลเฟนท์, มูซาชิโน่ อาร์ต ยูนิเวอร์ซิตี้, โตเกียว, ญี่ปุ่น
๒๕๔๘ - สูตรสำเร็จประเทศไทย, ๑๐๐ ต้นสนแกลเลอรี่, กรุงเทพฯ
๒๕๕๓ - ครึ่งหนึ่งของความจริง, ภูเก็ต ๓๔๖, ภูเก็ต
- โหยสยาม ไทยประดิษฐ์, นัมเบอร์วัน แกลเลอรี่, กรุงเทพฯ
๒๕๕๔ - ลอย, WTF, กรุงเทพฯ
๒๕๕๕ - ดีเป็นบ้า !, นัมเบอร์วัน แกลเลอรี่, กรุงเทพฯ
- โลกที่ไร้การเมือง, วาเลนไทน์ วิลลี่ ไฟน์ อาร์ต, สิงคโปร์
๒๕๕๙ - สัตว์สโมสร, นัมเบอร์วัน แกลเลอรี, กรุงเทพฯ
๒๕๖๑ - ไทย, นัมเบอร์วัน แกลเลอรี, กรุงเทพฯ
การแสดงงานกลุ่ม
๒๕๒๖ - การแสดงผลงานนักเรียนวิทยาลัยช่างศิลป
- การแสดงศิลปะเด็กแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔
๒๕๒๘ - การแสดงศิลปกรรมเยาวชนแห่งประเทศไทย
๒๕๒๙,๓๑ และ ๓๒ - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ ๓,๕ และ ๖
๒๕๓๐ และ ๓๑ - การแสดงงานศิลปกรรม โดย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
๒๕๓๐ - การแสดงจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙ โดย ธนาคารกสิกรไทย
๒๕๓๐ และ ๓๒ - การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๓ และ ๓๕
๒๕๓๑ - นิทรรศการจิตรกรรมสีน้ำมันทิวทัศน์ทะเล
๒๕๓๑ และ ๓๓ - การแสดงผลงานศิลปกรรมของนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๓๒ - การแสดงจิตรกรรมบัวหลวง ของธนาคารกรุงเทพ
- การแสดงศิลปกรรม นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต
- นิทรรศการภาพพิมพ์แห่ง วาคายาม่า ครั้งที่ ๓ ที่ ญี่ปุ่นและเกาหลี
๒๕๓๓ - นิทรรศการภาพพิมพ์นานาชาติ ฟรีเช่น เยอรมันนีตะวันตก
- นิทรรศการศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาตรี ปีสุดท้าย มหาวิทยาลัยศิลปากร
- นิทรรศการครั้งที่ ๕ ณ เมืองบูซาน เกาหลี
๒๕๓๓,๓๘–๔๕ - นิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ ๗,๑๒–๑๙ ของอาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๓๔ - นิทรรศการภาพพิมพ์นานาชาติวาน่า ๙๑ บัลกาเรีย
- ฟิคเกอร์ราทีฟ คัลเลอร์ส ณ หอศิลปคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๓๕ - อาร์ต เวิร์คส โฟร์ นครเมลเบิร์น ออสเตรเลีย
๒๕๓๗ - ๒๕๓๗ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ
๒๕๓๙ - เมือง โดย กลุ่มโคบอลท์ บลู หอศิลปแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ศิลปะแห่งรัชกาลที่ ๙ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- สู่ทศวรรษหน้า หอศิลป์ตาดู
๒๕๔๐ - ศิลปินรักษ์ผืนป่าตะวันตก ห้องศิลปนิทรรศมารศรี กรุงเทพฯ
- นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย สถาบันวิจิตรศิลป์ฮานอย และ วิทยาลัยศิลปะเว้ เวียดนาม
- ไทยวิชั่น แคลิฟอร์เนีย โพลีเทคนิค สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ สหรัฐอเมริกา
๒๕๔๑ - หนังสือ อาคารโรงพิมพ์คุรุสภา กรุงเทพฯ
- ๘ ศิลปินไทยในปารีส ฝรั่งเศส
- รายงานจากผืนป่า ๒๕๔๑ โดยกลุ่มศิลปินรักษ์ผืนป่าตะวันตก หอศิลปแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- กรุงเทพเมืองฟ้าอมร มหกรรมศิลปกรรมแห่งเอเชีย เอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๑๓
๒๕๔๒ - อัลเทอร์ อีโก้ โครงการร่วมระหว่างไทยและอียู มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ซีเครท การ์เด็น อาร์ท ดอง ลา วิลล์ เมืองแซงท์เทเทียน ฝรั่งเศส
- ศตวรรษที่ ๒๖ การตรวจสอบตนเอง โดยกลุ่มโคบอลท์ บลู หอศิลป์แห่งชาติ กรุงเทพฯ
- โน การันตี ซิดนีย์ คอลเลจ ออฟ ดิ อาร์ต แกลเลอรี่ ออสเตรเลีย
- เทรซ ลิเวอร์พูล ไบเนี่ยน ออฟ คอนเทมโปรารี่ อาร์ตส เมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร
- สิบศิลปินเอเชีย แมทเทรส แฟคตอรี่ เมืองพิทซ์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา
๒๕๔๓ - ศิลปกรรมไทย ๒๐๐๐ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
- เมืองรุกรานป่า กลุ่มศิลปินรักษ์ผืนป่าตะวันตก หอศิลป์แห่งชาติ
- ไวล์ ยู เวอร์ สลีปปิ้ง นิทรรศการศิลปกรรมของอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส สเปซ คอนเทมโพรารี่ อาร์ต กรุงเทพฯ
- ประชาธิปไตยในแง่งาม การแสดงงานศิลปกรรมกลางแจ้ง ๑๐๐ ปี นายปรีดี พนมยงค์กับสังคมไทย ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ
- คีพ ยัวร์ ดีสแทนซ์ หอศิลป์ตาดู กรุงเทพฯ
- ชีวศิลป์ ๕/๒๕๔๓ ศูนย์บ้านตึก นนทบุรี
- โกลคอล เซนท์ ออฟ ไทยแลนด์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเอ็ดส์วิค สวีเดน
- ไทย อาร์ต 2000 ไทยอาร์ต ฟาวเดชั่น อัมเสตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
- ยูโร-วิชั่นส์, นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ไทย-ยุโรป หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ กรุงเทพฯ
๒๕๔๔ - ไรติ้งไทย : อะเลิร์นนิ่ง รีฟอร์ม, เบบี้ เอเลเฟนท์, แกลเลอเรีย เดอซาส วิชวล, ควิเบค, แคนาดา
- อวสานการเติบโต?, หอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ
- คีพ ยัวร์ ดีสแทนซ์, หอศิลป์แห่งชาติ (กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย), บีซ อาร์ต (เซี่ยงไฮ้, จีน), มอริส แกลเลอรี่ (โตเกียว, ญี่ปุ่น), เลอ เครแดค, เซนเตอ ดาร์ท ไอวี (ฝรั่งเศส)
- ประวัติศาสตร์และความทรงจำ, หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ และหอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่
- โคโลจน์ มีทส์ บางกอก, บางกอก มีทส์ โคโลจน์, คุนส์เวิร์ค, โคโลจน์, เยอรมนี
๒๕๔๕ - บางกอก มีทส์ โคโลจน์, โคโลจน์ มีทส์ บางกอก, หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ
- ทิน สกิน : เดอะ ฟิคเคิล เนเจอร์ ออฟ บับเบิลส์, สเฟียส์, แอนด์ อินเฟลทเบิล สตรัคเจอร์, เอเอ็กซ์เอ แกลเลอรี, นิวยอร์ค, สก็อตส์เดล มิวเซียม ออฟ มิวเซียม ออฟ คอนเทมโพรารี่, อริโซน่า, สหรัฐอเมริกา
- อิมเมจินด์ เวิร์คช็อพ, เดอะ เซคั่น ฟุคุโอกะ เอเชี่ยน อาร์ต เทรียนนาเล่ 2002, ฟุคุโอกะ เอเชี่ยน อาร์ต มิวเซียม, ญี่ปุ่น
- ลา ซาเจสส์, กรองด์อาร์ค, ปารีส, ฝรั่งเศส
- ไซท์+ไซธ์, ทรานส์เลติ้ง คัลเจอส์, บีเอ ฟายน์ อาร์ต, ลาซาล-เอสไอเอ คอลเลจ ออฟ ฟายน์ อาร์ตส์, สิงคโปร์
- โน วอรี่ส์ ! ไม่เป็นไร, อาร์ต ฟรอม ออสเตรเลีย แอนด์ ไทยแลนด์, โนนาช ยูนิเวอร์ซิตี้ มิวเซียม ออฟ อาร์ต, วิคตอเรีย, ออสเตรเลีย
- ศิลปะ, ศาสนา, ศรัทธา, ทัศนะ, หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
- วิทอิน, อาร์ต อิน เจเนอรัล, นิวยอร์ค
- นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย เนื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร, หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ
๒๕๔๖ - ลา ซาเจสส์, ดิ อเตลิเยร์, กรุงเทพฯ
- เนคส์ มูฟ, คอนเทมโพรารี่ อาร์ต ฟรอม ไทยแลนด์, เอิร์ล ลู แกลเลอรี่, ลาซาล-เอสไอเอ คอลเลจ ออฟ ฟายน์ อาร์ตส์, สิงคโปร์
- อาร์ต อิน บอกซ์, แกลเลอเรีย พลาซ่า, กรุงเทพฯ
- นิทรรศการรางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี ประจำปี ๒๕๔๕, หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ
- 14 ตุลา, มุมมองศิลปิน, หอศิลป์จามจุรี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
- เอเชี่ยน คอนเทมโพรารี่ อาร์ต เอ็กซิบิชั่น : พาราลเลล ไทม์, อาร์ต มิวเซียม ออฟ ไชน่า อะคาเดมี่ ออฟ อาร์ตส์, หางโจว, จีน
- ไทเกอร’์ส์ อาย : แอสซอร์เตด เอเชี่ยน ไทเกอส์, พราวน์ แคมเดน, ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
๒๕๔๗ - อัตลักษณ์ ปะทะ โลกาภิวัตน์?, หอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ (๗-๒๙ ก.พ.), หอศิลป์แห่งชาติ, กรุงเทพฯ (๘-๒๘ พ.ค.) ดาห์เลม มิวเซียม, เบอร์ลิน, เยอรมนี (๒๒ ต.ค., ๔๖-๑๖ ม.ค. ๔๗)
- ลีฟวิ่ง อาร์ต-เรจินัล อาร์ติส เรสปอนด์ ทู เอชไอวี/เอดส์, หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ, กรุงเทพฯ
- ภาพเหมือน สมชาย นีละไพจิตร, อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา, กรุงเทพฯ (๒๔-๒๖ พ.ค.)
- ยินดีต้อนรับสู่ ซอยสบาย, กราฟ มีเดีย จีเอ็ม, โอซาก้า, ญี่ปุ่น
- อาร์ต ซัมมิท IV, ๒๐๐๔ : เพอร์ฟอร์มานซ์ แอนด์ วิชวล อาร์ตส์, จาการ์ต้า, อินโดนีเซีย (๑๐ ก.ย.- ๑๐ ต.ค.)
- เลอ พาโนรามิคส์, ออพทิก้า, มอนทรีออล, แคนาดา
๒๕๔๘ - ศิลปะพุทธะ, หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ, กรุงเทพฯ
- ไทย เฟสติวัล, ออดิทอเรียม พาร์โก เดลลา มิวซิก้า, โรม, อิตาลี
- อาร์ตส์ ฟอร์สไมส์, พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยพานิชย์ (๒๔-๓๐ มิ.ย.)
- นีโอ-ชาตินิยม, หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
๒๕๔๙ - รางวัลแดง มนัส เศียรสิงห์, นิทรรศการเนื่องในโอกาสมอบรางวัลแดง มนัส เศียรสิงห์, สถาบันปรีดี พนมยงค์, กรุงเทพฯ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะระยะสั้น ซอยสบาย, ร้านปลาดิบและเรือนนวด, กรุงเทพฯ (๑๑-๑๗ กพ.)
- อูทูแซด, ฮิโรซากิ, ญี่ปุ่น
- ตุตาแฟทไทย (เทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส), Place Saint-Sulpice, ปารีส, ฝรั่งเศส (๑๕-๓๐ กย.)
- เดอะ ฟิฟธ์ เอเชีย-แปซิฟิค ไทรเนียล ออฟ คอนเทมโพรารี่ อาร์ต, ควีนส์แลนด์ อาร์ต แกลเลอรี่ และ แกลเลอรี่ออฟ โมเดิร์น อาร์ต, รัฐควีนส์แลนด์, ออสเตรเลีย
๒๕๔๙-๒๕๕๐ - ศิลปะแห่งรัชกาลที่ ๙, ๖ ทศวรรษ ศิลปะไทย, หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, กรุงเทพฯ (๘ ธค.-๑๑ กพ.)
๒๕๕๐ - โชว์ มี ไทย, ในโอกาสครบรอบ ๑๒๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่นและไทย, มิวเซียม ออฟ คอนเทมโพรารี่ อาร์ต, โตเกียว (๑๘ เมย.-๒๐ พค.)
- เอ็กซ์พีเรียนซ์, โปรเจ็ค ซีโร่ : เฟสติวัล ออฟ อาร์ต แอนด์ คัลเจอร์ บาย โอเคเอ็มดี, เซ็นทรัลเวิลด์, กรุงเทพฯ (๙-๑๐ มิย.)
- รีลิเจียนส์ บีลีฟส์ แอนด์ คอนเทมโพรารี่, โซเชียล ฟิโนมิน่า ออฟ เซาธ์เทิร์น อีสท์ เอเชีย, กวางตุ้ง มิวเซียม ออฟ อาร์ต, ประเทศจีน
- อำนาจสูงสุดนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย, หน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ (๒๓ มิย.-๑ กค.)
- โครงการสร้างสรรค์จิตรกรรมบันทึกประวัติศาสตร์ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์, หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, กรุงเทพฯ (สิงหาคม)
- คิดส์ ออฟ เดอะ เวิล์ด, แชเลนเจอร์ ฮอลล์ ๒-๓, อิมแพค เมืองธานี, กรุงเทพฯ (๒๙ กย.-๗ ตค.)
๒๕๕๐-๒๕๕๑ - โซ โคลส/โซ ฟาร์ อเวย์, Crac Alsace, Altkirch, ฝรั่งเศส, Be-Part, Waregem, เบลเยี่ยม, Het Domein, เดอะ เนเธอร์แลนส์
- ศิลปะแห่งการคอร์รัปชั่น, โอซีเอซี แกลเลอรี่ (หอศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย), กรุงเทพฯ
๒๕๕๑ - บีสท์ส, เบรสท์ส แอนด์ บิวตี้, คอนเทมโพรารี่ เซาธ์อีสท์ เอเชี่ยน อาร์ต ฟรอม ไพรเวท คอลเลคชั่น, เอสจี ไพรเวท แบงกิ้ง แกลเลอรี่, สมาคมฝรั่งเศสแห่งสิงคโปร์
- ฟิเดลิตี้ นอท เฟลตี้, เฮช แกลเลอรี่, กรุงเทพฯ (๓ กค.-๒๘ สค., ภัณฑารักษ์ : คอลเนลลี่ ลามาร์)
- ใจเขาใจเรา : ศิลปะแห่งการอยู่ร่วมกัน, อุทยานการเรียนรู้ ทีเค พาร์ค, กรุงเทพฯ (๒๔ กค.-๑๕ สค., ภัณฑารักษ์ : ฉัตริยา นิตย์ผลประเสริฐ)
- อดีตหลอน, สถาบันปรีดี พนมยงค์, กรุงเทพฯ (๒-๒๓ สค.)
- กรุงเทพฯ-ชิซูโอกะ เอสเธติคส์ เดอะ รีเลชั่นชิพ อาร์ต เอ็กซิบิชั่น, (๘-๒๗ ธค., หอศิลป์บรมราชกุมารี, มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาเขตสนามจันทร์, นครปฐม)
๒๕๕๑-๒๕๕๒ - กรุงเทพฯ ๒๒๖, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (๑๖ ธค.-๑๕ กพ., ภัณฑารักษ์ : ลักขณา คุณาวิชยานนท์ และ อภิศักดิ์ สนจด)
๒๕๕๒ - อาเซียน คอนเทมโพรารี่ อาร์ต เอ็กซ์เชนจ์, สหภาพเมียนม่าร์
- อาร์ต’ ๘๐, ฮอฟ อาร์ต, กรุงเทพฯ (๒๘ กพ.-๒๕ เมย.)
- ศิลปากร-กวางจู, นิทรรศการศิลปะและสัมมนา ๒๕๕๒, ดิ อาร์ต มิวเซียม ออฟ กวางจู อคาเดมี ออฟ ไฟน์ อาร์ต, ประเทศจีน (๑๐ เมย.-๑๐ พค.)
- ศิลปากร-กวางจู, นิทรรศการศิลปะและสัมมนา ๒๕๕๒, หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (๒-๒๘ พย.)
- นิทรรศการศิลปกรรมของคณาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, พีเอสจี อาร์ต แกลเลอรี่, หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ, มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๕๓ - ฝันถึงสันติภาพ, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ (๒๔ มิย.-๒๒ สิงหาคม)
- นิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ ๒๗ ของคณาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, พีเอสจี อาร์ต แกลเลอรี่, หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ, มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๕๔ - นิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ ๒๘ ของคณาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, พีเอสจี อาร์ต แกลเลอรี่, หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ, มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๕๕ - นิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ ๒๘ ของคณาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- นิทรรศการศิลปกรรม ครั้งที่ ๒๙ ของคณาจารย์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, พีเอสจี อาร์ต แกลเลอรี่, หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ, มหาวิทยาลัยศิลปากร
- นิทรรศการศิลปกรรมโดย ศิลปินกลุ่มเดือนพฤษภา, ครัวอี-เมียร์
- 20 ปี พฤษภาประชาธรรม, ถนนราชดำเนินกลาง
- ไทยเท่ จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
๒๕๕๖ - พร่า พราย, นัมเบอร์ 1 แกลเลอรี่, กรุงเทพฯ
- ซับเจคทีฟ ทรูธ, 10 แชนเซรี่ เลน แกลเลอรี่, ฮ่องกง
หนังสือ
๒๕๔๖ - จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่ : ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่และร่วมสมัย, สำนักพิมพ์บ้านหัวแหลม
๒๕๕๔ - ทัศนศิลป์, สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
- 10 คำถามที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับศิลปะ, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
บรรณาธิการหนังสือ
๒๕๔๘ - ตายก่อนดับการกลับมาของ มณเฑียร บุญมา (บรรณาธิการร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์)
ภัณฑารักษ์
๒๕๔๘ - คนตายอยากอยู่ คนอยู่อยากตาย, ศาลาไทย, เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ ๕๑, นำเสนอผลงานของ มณเฑียร บุญมา และ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข (ภัณฑารักษ์ร่วมกับ ปัญญา วิจินธนสารและลักขณา คุณาวิชยานนท์)
๒๕๕๑ - The Best of Discovery, ShContemporary Art (Thai section), Shanghai, China.
- รอยยิ้มสยาม, ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก (Traces of Siamese Smile: Art+Faith+Politics+Love), (ภัณฑารักษ์ร่วม), Bangkok Art Culture Centre.
๒๕๕๖ - จิตรกรรมฝาผนังของ อาจารย์ชลูด และผลงานย้อนหลัง, ภัณฑารักษ์ร่วมกับ ปกรณ์ กล่องเกลี้ยง, หอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
รางวัล
๒๕๒๖ - รางวัลยอดเยี่ยมในการแสดงศิลปเด็กแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๔
- เยาวชนดีเด่นประเภทจิตรกรรม ประจำปี ๒๕๒๖ ของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
๒๕๓๒ - รางวัลชนะเลิศนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย ๒๕๓๒
๒๕๔๕ - รางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี ประจำปี ๒๕๔๕, มหาวิทยาลัยศิลปากร
๒๕๔๖ - รางวัลทุนมีเซียม ยิบอินซอย, คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
๒๕๔๙ - รางวัลแดง มนัส เศียรสิงห์ ครั้งที่ ๒, สถาบันปรีดี พนมยงค์
ผลงานสะสม
บมจ. ธนาคารกสิกรไทย กรุงเทพฯ
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด(มหาชน) กรุงเทพฯ
ลาซาลล์ คอลเลจ ออฟ ดิ อาร์ตส์, สิงคโปร์
สิงคโปร์ อาร์ต มิวเซียม, สิงคโปร์
ฟุคุโอกะ เอเชี่ยน อาร์ต มิวเซียม, ฟุคุโอกะ, ญี่ปุ่น
โมริ อาร์ต มิวเซียม, โตเกียว, ญี่ปุ่น
เอช & เอฟ คอลเลคชั่น, อัมสเตอร์ดัม, เดอะ เนเธอร์แลนด์
ควีนส์แลนด์ อาร์ต แกลเลอรี่, บริสเบน, ออสเตรเลีย
อาร์เตอร์ ฟาวเดชั่น, อิสตันบุล, ตุรกี
งานวิจัย
๒๕๔๐-๒๕๔๑ - การวิจัยหัวข้อ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ พื้นที่ และคนดูในทัศนศิลป์ ทุนวิจัยจาก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร (ส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้เผยแพร่ในนิทรรศการ ฝนตกขี้หมูไหล เมื่อปี 2541 และบางส่วนได้ตีพิมพ์อยู่ในสูจิบัตรของนิทรรศการ)
๒๕๔๗-๒๕๔๘ - การวิจัยหัวข้อ การแสดงผลงานของศิลปินร่วมสมัยศึกษาเฉพาะกรณี นายมณเฑียร บุญมา (เผยแพร่ในรูปของหนังสือชื่อ ตายก่อนดับการกลับมาของ มณเฑียร บุญมา) ทุนวิจัยจาก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
งานเขียนบทความ
คอลัมน์ ศิลปวัฒนธรรม, สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์
๒๕๔๖ - ของเก่ามีมาก ของดีมีเยอะ แต่…, ปีที่ ๔๙ ฉบับ ๓๙, ศุกร์ ๒๑ - พฤหัสบดี ๒๗ ก.พ. ๔๖, หน้า ๕๘-๕๙
- ของดีที่มีอยู่, ปีที่ ๔๙ ฉบับ ๔๐, ศุกร์ ๒๘ ก.พ. - พฤหัสบดี ๖ มี.ค. ๔๖, หน้า ๕๘-๕๙
- (ว่าที่) มรดกของชาติ : ของดีที่ไม่มีเก็บ, ปีที่ ๔๙ ฉบับ๔๓, ศุกร์ ๒๑ - พฤหัสบดี ๒๗ มีนาคม, หน้า ๕๘–๕๙
- ของดีจากเพื่อนบ้าน, ปีที่ ๔๙ ฉบับ ๔๗, ศุกร์ ๑๘– พฤหัสบดี ๒๔ เมษายน, หน้า ๕๘–๕๙
- ทำไมศิลปะจึงดูไม่รู้เรื่อง : ฉันเป็นฉันเอง, ปีที่ ๔๙ ฉบับ ๕๑, ศุกร์ ๑๖– พฤหัสบดี ๒๒ พฤษภาคม, หน้า ๕๘–๕๙
- ทำไมศิลปะจึงดูไม่รู้เรื่อง : แปลกใหม่ไม่มีใครเหมือน, ปีที่ ๕๐ ฉบับ ๓, ศุกร์ ๑๓– พฤหัสบดี ๑๙ มิถุนายน, หน้า ๕๘–๕๙
- ทำไมศิลปะจึงดูไม่รู้เรื่อง : วัฒนธรรมเฉพาะ, ปีที่ ๕๐ ฉบับ ๔, ศุกร์ ๒๐– พฤหัสบดี ๒๖ มิถุนายน, หน้า ๕๘–๕๙
- ทำไมศิลปะจึงดูไม่รู้เรื่อง : ต่อต้านกระแสหลัก, ปีที่ ๕๐ ฉบับ ๗, ศุกร์ ๑๑– พฤหัสบดี ๑๗ กรกฎาคม, หน้า ๕๘–๕๙
- ศิลปะก่อนและหลัง ๑๔ ตุลา : อีกด้านของคืนวันอันงดงาม, ปีที่ ๕๐ ฉบับ ๑๕, ศุกร์ ๕– พฤหัสบดี ๑๑ กันยายน, หน้า ๕๘–๕๙
คอลัมน์ แกลเลอเรีย, กรุงเทพวันอาทิตย์, กรุงเทพธุรกิจ
๒๕๔๖ - แอ็คชั่น เพ้นติ้ง : เสรีแห่ง "ภาพ", ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๒๗๔ (๓๔๓), ๒ มีนาคม
- คนเขียนภาพ VS ช้างเขียนรูป, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๒๘๘ (๓๔๕), ๑๖ มีนาคม
- ท้องทุ่งแห่งสีสัน, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๓๐๒ (๓๔๗), ๓๐ มีนาคม
- ศิลปะที่มีขอบแข็งและคม, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๓๑๖ (๓๔๙), ๑๓ เมษายน
- ศิลปินที่ต่อต้านศิลปะ, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๓๓๐ (๓๕๑), ๒๗ เมษายน
- ศิลปะสำเร็จรูป, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๓๔๔ (๓๕๓), ๑๑ พฤษภาคม
- สินค้า ขยะและศิลปะ, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๓๕๘ (๓๕๕), ๒๕ พฤษภาคม
- ประชานิยม : ศิลปะสูง-ต่ำ, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๓๗๒ (๓๕๗), ๘ มิถุนายน
- ทำให้พ็อพ, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๓๘๖ (๓๕๙), ๒๒ มิถุนายน
- น้อยแต่มาก, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕ (๓), ๖ กรกฎาคม
- ลายตา ตาลาย, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๔๑๔ (๓๖๓), ๒๐ กรกฎาคม
- แอ็คชั่น, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๔๒๘ (๓๖๕), ๓ สิงหาคม
- สด มัน ฮา, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๔๕๖ (๓๖๙), ๓๑ สิงหาคม
- โหด สด (ไม่) ฮา, ปีที่๑๖ ฉบับ ๕๔๗๐ (๓๗๑), ๑๔ กันยายน
- เพอร์ฟอร์มานซ์, ปีที่ ๑๖ ฉบับ (๓), ๒๘ กันยายน
งานเขียนบทความในสูจิบัตร
๒๕๔๓ - ฮาว ทู ร่วมด้วยช่วยกัน รู้จัก อิมเมจ ออฟ จีเอ็ม (นายสมชาย แมนออฟ เดอะ คาราโอเกะ), สูจิบัตรศิลปกรรมชุด "วิถีชีวิตนายสมชาย นามสกุลคนเมือง (พฤติกรรมมนุษย์ในวิถีสังคมเมืองปัจจุบัน)" โดย พิเศษ โพพิศ, ที่ สเปซ คอมเทมโปลารี่ อาร์ต, กรุงเทพฯ
- มหานครแห่งยุคสมัย, สูจิบัตร "Metropolitan", โดย ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์, ที่ สเปซ คอมเทมโปลารี่ อาร์ต, กรุงเทพฯ
๒๕๔๕ - เล็ก ใหญ่ ชาย หญิง จริง ลวง, สูจิบัตร "as big as it's small", โดย จิระเดช มีมาลัย และ พรพิไล จงสุนทรธุระกิจ, ๑๐ มกราคม ถึง ๒ กุมภาพันธ์, หอศิลป์ตาดู, กรุงเทพฯ, หน้า ๓๖
- ดีพาร์ทเจอร์ ออฟ โซล : จิตและใจของดวงหทัย, สูจิบัตร "ครึ่งหลับครึ่งตื่น, “Departure of Soul", โดย ดวงหทัย พงศ์ประสิทธิ์, ที่ สเปซ คอมเทมโปลารี่ อาร์ต, กรุงเทพฯ
๒๕๔๖ - ปั้นดินให้เป็นอินสตอลเลชั่น : กระแสความเปลี่ยนแปลงของประติมากรรมไทย, สูจิบัตร “มหกรรมประติมากรรมขนาดเล็ก ๒๕๔๖, ๒๐ ปี สมาคมประติมากรไทย” , ๒๔ มิถุนายน – กรกฏาคม, ศูนย์การค้าเดอะสีลม แกลเลอเรีย, กรุงเทพฯ และ “เรื่องต้องรู้ของประติมากรรมและประติมากรไทย”, อาร์ต เรคคอร์ด พิเศษ, กรกฎาคม – สิงหาคม ๒๕๔
๒๕๔๙ - Tawatchai Puntusawasdi, 2006 Biennale of Sydney, Zone of Contact
งานเขียนในนิตยสาร, วารสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ
๒๕๔๓ - เอกสาร นำชมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๖, ๑-๓๐ กันยายน, หอศิลปแห่งชาติ กรุงเทพฯ, ๑-๓๐ พฤศจิกายน, หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๔-๓๐ ธันวาคม, หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
๒๕๔๕ - ทุกคนจะเป็นคนดัง คนละ ๑๕ นาที, วารสารหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑, มกราคม - มีนาคม, หน้า ๒๔- ๓๒
๒๕๔๖ - ชีวิต หนัง นิยาย และภาพเขียน, กรุงเทพวันอาทิตย์, กรุงเทพธุรกิจ, ปีที่ ๑๖ ฉบับ ๕๒๖๗ (๓๔๒), ๒๓ กุมภาพันธ์
- ร่วมเขียนเอกสาร นำชมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๙, ๑-๓๐ กันยายน, หอศิลปแห่งชาติ กรุงเทพฯ
๒๕๕๐ - Social Realism in Thailand, Modern Art Studies Vol. 4, National Museum of Contemporary Art, Korea, หน้า ๒๘๑-๒๙๑.
๒๕๕๐ - ๙ วิธีทำให้ราษฎรไทยรักประชาธิปไตย, ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๑๒, ตุลาคม ๒๕๕๐, หน้า ๑๓๙-๑๔๙.
๒๕๕๒ - ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อการเมือง: สัจนิยม, อุดมการณ์กับงานศิลปะในประเทศไทย, ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๗, พฤษภาคม ๒๕๕๒, หน้า ๘๕-๑๑๐.
๒๕๕๓ - ความดีและความงามของ สวัสดิ์ ตันติสุข, ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๕, พฤษภาคม ๒๕๕๓, หน้า ๑๔๑-๑๕๓.
บรรยายพิเศษเดี่ยว
๒๕๔๔ - ผลงานของ สุธี คุณาวิชยานนท์, ๕ เมษายน, ที่ Galerie des arts visuels, ลาวาล ยูนิเวอร์ซิตี้, ควิเบค ซิตี้, คานาดา, (Laval University, Quebec City, Canada)
- ผลงานของ สุธี คุณาวิชยานนท์, ๑๐ เมษายน, ที่ ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ควิเบค มอนทรีอัล, คานาดา, (University of Quebec Montreal, Canada)
- ผลงานของ สุธี คุณาวิชยานนท์, ๑๔ กรกฎาคม, ที่ มูซาชิโน อาร์ต ยูนิเวอร์ซิตี้ (Musashino Art University), โตเกียว, ญี่ปุ่น
๒๕๔๕ - ผลงานของ สุธี คุณาวิชยานนท์, ๘ มิถุนายน, สคัลป์เจอร์ สแควร์ (Sculpture Square), สิงคโปร์
- วาดเส้นร่วมสมัย, ๗ ธันวาคม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
๒๕๕๐ - วิชา อพ 254 “หลักการบริหารของศิลปะอุตสาหกรรม”, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2549
- “การกำหนดหัวข้อวิจัยและการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย : ประสบการณ์การทำวิจัยด้านศิลปะ”, โครงการสัมมนาเชิง ปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนข้อเสนอวิจัยสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ”, คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17 ก.ค. ห้องเอนกประสงค์ คณะมัณฑนศิลป์
๒๕๕๑ - บรรยายหัวข้อ “Contemporary Thai Art : At the End of 20th Century and Beginning of New Millennium” ที่ Design and Arts College of New Zealand, Christchurch, New Zealand.
- บรรยายหัวข้อ “ปรัชญาและแนวความคิดใน Southeast Asia กับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม”, วิชา 361 403 การออกแบบตกแต่งภายในขั้นสูง 3, ปริญญาโท สาขาวิชาออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์, ศ. 20 ส. 21 มิย.
- บรรยายรายวิชา 3501392 “ทัศนศิลป์ไทยสมัยใหม่” หลักสูตรปริญญาบัณฑิต, ภาควิชาทัศนศิลป์, คณะศิลปกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อังคาร 24 มิย., 1 และ 8 กค.
๒๕๕๒ - บรรยายหัวข้อ “จริยธรรมของศิลปิน อาจารย์สอนศิลปะและภัณฑารักษ์ศิลปะ”, รายวิชา บฒ. 780 สัมมนาทางวัฒนธรรมและจริยธรรม, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม รุ่น MCT_7, พฤ. 16 กค.
- “กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปิน”, กระบวนวิชา 101100 Art Theory ภาควิชาภาพพิมพ์ จิตรกรรมและประติมากรรม, คณะวิจิตรศิลป์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 9.00-12.00 น. จ.10 สค.
การนำเสนอผลงานวิชาการในการประชุมทางวิชาการ
2550 “Social Realism in Thailand” in “Realism in Asia Symposium”, organized by South Korea National Museum and Singapore Art Museum, Seoul, South Korea
สอนพิเศษ
๒๕๔๕ - วิชา ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและศิลปะ (Art and Society Transformation), หลักสูตรปริญญาโท การบริหารจัดการวัฒนธรรม, วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๖ ครั้งๆ ละ ๓ ชั่วโมง, มกราคม
- วิชา ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย, หอศิลป์ตาดู, ๖ สัปดาห์ๆ ละ ๓ ชั่วโมง รวม ๑๘ ชั่วโมง, ระหว่าง พฤศจิกายน ถึง มกราคม
๒๕๕๒ - วิชา ความสมัยใหม่ในศิลปะไทย (Modernisation in Thai Art) หลักสูตรปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง 15 ครั้ง 1 ภาคการศึกษา
สัมมนาหรือบรรยายกลุ่ม
๒๕๔๕ - ราวด์ เทเบิ้ล เซสชั่น ไซท์ แอนด์ ไซธ์ (Round Table Session, Site + Sight), ๕ มิถุนายน, ที่ เอเชี่ยน ซิวิไลเซชั่นส์ มิวเซียม (Asian Civilisations Museum), สิงคโปร์
- คอนเวอร์เซชั่น (Conversation), ๒๕ กันยายน, ไอสไตน์ ออดิทอเรี่ยม, นิวยอร์ค ยูนิเวอร์ซิตี้ (Einstein Auditorium, New York University), นครนิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกา
๒๕๔๖ - อาร์ติส ทอล์ค (Artist Talk), สำหรับนิทรรศการ เนคส์มูฟ คอนเทมโพรารี่ อาร์ต ฟรอม ไทยแลนด์ (Next Move, Contemporary Art from Thailand), เอิร์ล ลู แกลเลอรี่, ลาซาลล์ คอลเลจ ออฟ ดิ อาร์ตส์ (Earl Lu Gallery, LASALLE College of the Arts), สิงคโปร์
- วิทยากรกลุ่มย่อยการสัมมนา ที่มา ที่เป็น ที่ไป ๖๐ ปีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์, ๑๔ พฤษภาคม
- ผู้อภิปรายหัวข้อ ทิศทางศิลปกรรมร่วมสมัยในทศวรรษนี้ ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ศิลปกรรมร่วมสมัย, 9 ตุลาคม
๒๕๔๗ - นำเสนอผลงานวิชาการชื่อ คิวบิสม์ อิน ไทยแลนด์ : เลสเซินส์ ทู แอ็บสแตรค อาร์ต (Cubism in Thailand: Lessons to Abstract Art) ในการสัมมนาหัวข้อ คิวบิสม์ อิน เอเชีย(Cubism in Asia) จัดโดย เดอะ เจแปน ฟาวน์เดชั่น เอเชีย เซนเตอร์ (The Japan Foundation Asia Center) ที่ โตเกียว, 2-3 กุมภาพันธ์
- เสวนาหัวข้อ Encounters with ‘Multiculturalism’ and ‘Globalism’ กิจกรรมวิชาการเนื่องในนิทรรศการ อัตลักษณ์ ปะทะ โลกาภิวัตน์? จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์, โรงแรมอมารี รินคำ เชียงใหม่, 7 กุมภาพันธ์
- เสวนาหัวข้อ อัตลักษณ์เผชิญหน้าโลกาภิวัตน์ในโลกศิลปะ?, กิจกรรมวิชาการเนื่องในนิทรรศการ อัตลักษณ์ ปะทะ โลกาภิวัตน์? จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์, หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ, 22 พฤษภาคม
- กิจกรรมวิชาการเนื่องในนิทรรศการ อัตลักษณ์ ปะทะ โลกาภิวัตน์? จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์, กรุงเบอร์ลิน, ประเทศเยอรมนี
วิทยากรสัมมนา
2548 - “ความเป็นไทย”, โครงการสัมมนาและนิทรรศการออกแบบ “ตื่นเถิดกราฟฟิกไทย” เนื่องในโอกาส 50 ปี คณะมัณฑนศิลป์, 1 ต.ค. Playground กรุงเทพฯ
2549 - “สืบอมตศิลป์สุวรรณภูมิ วันนี้ พรุ่งนี้ยังไม่สาย”, สัมมนาประกอบงาน “อมตศิลป์สุวรรณภูมิ” นิทรรศการศิลปกรรม “อมตะอวอร์ด”, 26 มี.ค. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ
- “เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างคุณค่าให้งานจิตรกรรมได้จริงหรือ?”, การสัมมนาโครงการจิตรกรรมกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี, โดยภาควิชาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17 มิย. หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร
- “ประสบการณ์การสร้างสรรค์ศิลปะของ 4 ศิลปิน รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ครั้งที่ 2 ภายใต้บริบทศิลปร่วมสมัยในปัจจุบัน”, งานเชิดชูเกียรติศิลปินรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ครั้งที่ 2 ทัศนศิลป์ดีเด่นทางด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรม, โดยฝ่ายศิลปกรรมสถาบันปรีดี พนมยงค์, 1 ต.ค. สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ
- “Contemporary Thai Art: at the End of 20th Century and Beginning of New Millennium (1990s-2000s)”, สัมมนานานาชาติ...โดย คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2550 - “ศิลปินร่วมสมัยไทยในปัจจุบัน จะสืบสานศิลปะแห่งรัตนโกสินทร์อย่างไร” สัมมนาประกอบโครงการสร้างสรรค์จิตรกรรม   บันทึกประวัติศาสตร์ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์, โดยภาควิชาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12 พ.ค. หอประชุมมหาวิทยาลัยศิลปากร
- “การผสมผสานระหว่างศิลปะแนวประเพณีและศิลปกรรมร่วมสมัย”, การประชุมสัมมนาเรื่อง “ศิลปะร่วมสมัยของประเทศ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Contemporary Art in the Mekong Region) โดยคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 19 ก.ค. โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่
2551 - วิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาทัศนศิลป์, คณะวิจิตรศิลป์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 8.30-16.00 น. 18 มค.
- “ศิลปินร่วมสมัยกับการจัดการประวัติศาสตร์ (กรณี 6 ตุลา 19)”, “การจัดการประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19” อาทิตย์ 6 กรกฎาคม, 9.30-12.00 น. สถาบันปรีดี พนมยงค์
2552 - “What’s a Curator?”, การประชุมทางวิชาการ “ย้อนรอย 7 ภัณฑารักษ์ ศาลาไทยเวนิสเบียนนาเล่” วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน, 13.30-16.00 น. ห้องกรุงเทพบอลล์รูม โรงแรมรอยัลซิตี้, กรุงเทพฯ โดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
- “การสืบเนื่องและเปลี่ยนแปลง: จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์”, โดยสาขาวิชาจิตรกรรมไทย วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, ศ. 31 กค., 13.00-16.30 น. โรงแรมแกรนด์ไชน่าปริ้นเซส
ประชุมเชิงปฏิบัติการ
๒๕๔๕ - วาดเส้นร่วมสมัย, ระหว่าง ๗-๑๐ ธันวาคม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
Bibliography
1990 - Sutee Kunavichayanont kub sing thi yu pai nai lae pai nok manud, Chewit Chewa, Nangsupim Watthajak, (Bangkok: April 2, 1990), p.16.
1991 - Chow. Thana, Phab chud roop lae ar-roop kong Sutee Kunavichayanont, Satrisarn, (Bangkok: March, 1991).
- Limthanakul, Wimonsri, Someone to Watch Over Me, Lalana, (Bangkok: March, 1991), pp.182-183.
- Pathawee, See san henk  roop raung, Image, (Bangkok: February, 1991), pp.256-257.
- Silasai, Figurative Colours See san kong sam silapin, Keuw, (Bangkok: March, 1991), pp.118-119.
- Jitima, Figurative Colours kong sam silapin noom, Lalana, (Bangkok: March, 1991) pp.219-223.
- A Spiritual Emphasis, The New England Times, (Australia: Saturday November 30, 1991).
- Forman, Kerry, Sutee’s Thought Make a Pretty Picture, The Armidale Express, (Australia:  Wednesday November 20, 1991), p.8.
1994 - Sai nam lai jak Sutee Kunavichayanont kaum pled plag nai tuk kana jit, Lokkeela-Chewit Chewa, (Bangkok: no. 1670, 1994), pp. 14-15.
- Pled’,Paisan, Kamnaug nai tuk kana jit, Variety, (Bangkok: April, 1994), pp.139-142.
- Sai nam lai, Face, (Bangkok: vol.5, no.48, 1994), pp. 172-173.
- Apichardtrakul, Kajohndaj, Chewit meun sai nam lai pai leaw mai heun kab, Siam Post, (Bangkok: Friday May, 1994)
- Kaum maai “Sai nam lai” Sutee Kunavichayanont, Chewit Chewa Nangsupimwatthajak, (Bangkok: no. 2690, 1994), p.8.
- Cooke, Dudley, The Makings of an Art Exhibition, Sunday Bangkok Post, (Bangkok:) p.26.
- Knithichan, Khetsirin, Moving with the Flow of Life, The Nation, (Bangkok: The Nation Multi Media Group, May 9, 1994), p. C8.
- Wayla lae jit soo sai nam lai kong Sutee Kunavichayanont, Judprakai, Krungthep Toorakij, (Bangkok: May 9, 1994).
- Thirapongwit, Paisarn, Thon tan silpa kong Sutee, Seesan, (Bangkok: no.1, 1994), pp.55-60.
- Thamnu, Aoomchon, Sai nam lai satond phawa jit, Perfume, (Bangkok: no.2, 1994) pp.250-253.
- Wayla lae jit 1 “Yuksamai hang kan sawang ha sara”, Nangsupim Phujadkarn, (Bangkok: May, 1994).
- Chapakdee, Thanom, Sai nam lai ponguan installation kong Sutee Kunavichayanont, Donkbia raisabda, (Bangkok: May 22-28, 1994), pp. 40-41.
- Jit yung yuang bon sen see rai rabeab, Weekend, Nangsupim Phujadkarn Raiwan, (Bangkok: May 21-22, 1994), pp.42-43.
1995 - Susita, Sutee Kunavichayanont, Silapa satond wicrid chang Thai, Chewit Chewa, (Bangkok: 1995), pp.100-101.
- Guan krang mai kong Sutee Kunavichayanont “Chang perk Siam” sayalak ku sakkum Thai, Siam Post, (Bangkok: March 20, 1995), p.12.
1996 - Siribanchat, Prayanee, Natthalak nai thadsanasilp miti hang kan tikuam guansilp song roopbab, Judprakai Krungthep Toorakij, (Bangkok: March, 1996), p.18.
- Supakorn, Walan, Sutee Kunavichayanont, Thammai tong auo “kram chang” paitid panang, Suksamran, Korrawik, Krungthep Toorakij, (Bangkok: March 22, 1996), p.16.
1998 - Phataranawik, Phatarawadee, Reflecting A Change, The Nation, (Bangkok: June 29, 1998), p.C6.
- See Foon, Shit Stirring, Bangkok Post, (Bangkok: June 17, 1998), p.8.
- Khidanan, Fontok kimoolai nai moom mong kong Sutee Kunavichayanont, People Raipak, (Bangkok: no. 102, July, 1998), pp.62-64.
- Maneekul, Yuwadee, Pakudtakan “silpawijai” nai “Fontok kimoolai”, Judprakai Krungthep Toorakij, (Bangkok: June 15, 1998) p.8.
- Thirapongwit, Paisan, Fontok kimoolai lae Sutee Kunavichayanont, Seesan, (Bangkok: August 1998), pp.39-44.
- Marazzi, William, Anxiety and Frustration, Living, (Bangkok: September), pp.72-75.
- Tawee’, Sompong, Fontok kimoolai, Nation Sudsupda, (Bangkok: The Nation Multimedia Group: July 2-8, no.317), pp.54.
1999 - Pettifor, Steven, Sutee Kunavichayanont, Art Asia Pacific, (Australia: issue 22), pp.88-89.
2000 - Elisabeth Sussman, Report from Liverpool, Britannia's Biennial, Art in America, (USA: vol.88, no 7, July 2000), pp. 55-59.
- Joan Kee, Transience and Time, a Mattress Factory Residency, Art Asia Pacific, (Australia: issue 28, 2000), pp. 22-23.
2001 - Iola Lenzi, Sutee Kunavichayanont, Atelier Frank & Lee, World Sculpture News, (Hong Kong: vol 7, no.4, autumn 2001), pp. 66-67.
- Lena Chong, Inflated Nostalgia, Solo Exhibition by Sutee Kunavichayanont, Vehical, Contemporary Art, (Singapore: Plastique Kinetic Worms, no.2/2001), pp.6-8.
2004 - Fiona Kerlogue, Arts of Southeast Asia, (UK: Thames & Hudson Ltd., 2004), p.191.
2010 - John Clark, Asian Modernities: Chinese and Thai art compared, 1980 to 1999, (Sydney: Power Publications, 2010).
- Sudarat Musikawong, “Art for October : Thai Cold War State Violence in Trauma Art,” in Positions : East Asia Cultures Critique, (USA: Duke University Press, vol 18, No.1, Spring 2010), pp. 19-50.
- Chol Janepraphaphan, “Burden in the Classroom,” in The Classroom , catalogue (Bangkok: Numthong Gallery, 2010).
2012 - Sandra Cate, “Thai Artists, Resisting the Age of Spectacle,” in Modern and Contemporary Southeast Asian Art : An Anthology, book (USA: Cornell Southeast Asia Program Publications, 2012), pp.69-83.
Catalogue (Solo Exhibition)
1993 - Void and Emptiness, First Draft (West), NSW, Australia. (photo copy, with Buddhist quotes in English)
- Time and Mind, Tin Sheds Gallery, NSW, Australia. (photo copy, essay by Patsy Payne in English)
- Flowing Tide, Allen Street Gallery, NSW, Australia. (photo copy, with artist’s concept in English)
1994 - Flowing Tide, Silom Art Space, Bangkok. (with artist’s concept original in Thai and English)
1995 - The White Elephants of Siam, The Art Gallery of the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University, Bangkok. (with artist’s concept original in Thai with English translation by Luckana Kunavichayanont)
1998 - Rain Drops-Pig’s Shit Running, TADU Contemporary Art, Bangkok. (essay by Paretas Hutanggura, original in Thai with English translation by Oraya Sutabutr)
2002 - Burden of Joy, Bangkok University Art Gallery, Bangkok. (with artist’s concept original in Thai with English translation)
2004 - Inflatable Nostalgia, Atelier Frank & Lee, Singapore. (essay in English by Iola Lenzi)
2005 - Stereotyped Thailand, 100 Tonson Gallery, Bangkok. (essay in English by Steven Pettifor with Thai translation by Sutee Kunavichayanont)
2010 - Half Truth, Phuket 346, Phuket, Thailand. (with artist’s concept in English translation)
- Longing for Siam, Inventing Thailand, Number 1 Gallery, Bangkok. (with artist’s concept original in Thai with English translation)
2011 - Crazily Good!, Number 1 Gallery, Bangkok.
- The World Without Politics, Valentine Willie Fine Art, Singapore. (essay in English by Iola Lenzi)