Exhibition I Am YOU
...I Am YOU is a concept based off of Vasan's life philosophy. Having realised early on that one can live meaningfully only by living for others, his interest in the human social construct therefore got digested and interpreted according to Vasan's own unique way of thinking. This exhibition is segmented into five rooms; the first section is about Vasan's ideals and ideology which will lay a foundation on the artist's early developments. Followed by two rooms filled with content, questioning the nation of power and the multiple modes of Vasan exercising his art. The fourth room examines the human body through symbolism in relations to social concepts as well as dissecting the significance of why the artist's face gets featured in many of his paintings. Lastly, the fifth room is a space dedicated to Vasan's activist life showing his many methods of protesting.
From activism to woodcut printing, drawing and painting, sculpture, installation, video art, performances, literary works, music or conservation works are all products of Vasan's unapologetic view on the state of Thailand and the world thus making his works a historical documentation of social and political events. Together, all five sections of the exhibition rest under the umbrella of art that challenges its academic limitations and moulds it into a tool to help solve national problems because according to Vasan Sitthiket, we should all learn to live together in unity.
นิทรรศการ ฉัน คือ เธอ
...ฉัน คือ เธอ เป็นการรวบรวมปรัชญาชีวิตของวสันต์ ที่สรุปมาจากการตระหนักว่า ชีวิตนั้นย่อมมีความหมายต่อเมื่ออยู่เพื่อผู้อื่น ฉะนั้นความสนใจในโครงสร้างทางสังคมมนุษย์ของตัวศิลปินก้ได้ผ่านการกลั่นกรองแบบความคิดรวบยอดในสูตรของวสันต์ โดยเนื้อหาในนิทรรศการได้ถูกแบ่งออกเป็นห้าส่วน เริ่มต้นด้วยรากฐานความคิดและอุดมการณ์ของศิลปิน ที่จะบ่งบอกถึงต้นกำเนิดมุมมองของวสันต์ จากนั้นต่อไปด้วยบริบทอันเข้มข้นสองช่วง ที่เปิดความคิดให้กับคำว่าอำนาจ และการสื่อสารคำวิจารณ์ ถัดไปเป็นการวิเคราะห์ความหมายของร่างกายมนุษย์ที่ศิลปินได้นำมาใช้เป็นสัญลักษณ์นำเสนอประเด็นต่างๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดทางสังคมและในบริเวฯสุดท้าย ได้รวบรวมผลงานที่วสันต์ สิทธิเขตต์ สร้างขึ้นจากการมีส่วนร่วมในการประท้วงในหลายๆ สถานที่ทั่วโลก
ผลงานต่างรูปแบบตั้งแต่จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ วาดเส้น งานจัดวาง วิดีโอ การแสดงสด วรรณกรรม ดนตรี หรือการรณรงค์ ล้วนเป็นการทำงานเพื่อแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบต่อสภาพบ้านเมืองของประเทศไทยและโลกอย่างตรงไปตรงมา กลายเป็นบทบันทึกทางประวัติศาสตร์ของสังคม ทั้งหมดนี้จะอยู่ภายใต้การเป็นศิลปะที่ขยายขอบเขตความหมายเชิงวิชาการและนำมาปรับใช้เพื่อช่วยหาทางออกให้กับปัญหาบ้านเมือง เพราะตามควมคิดของวสันต์นั้น ทุกคนน่าจะอยู่ร่วมกันในโลกใบนี้ได้อย่างสันติ